Lecture

ออกแบบระบบเนวิเกชัน

ความสําคัญของระบบเนวิเกชัน
 - การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผ้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบเนวิเกชันเป็นส่วนเสริมใน การสร้างสิ่งแวดล้อมที่สื่อความหมายเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัวโดยไม่หลงทาง โดยทําให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกําลังอยู่ที่ไหนได้ผ่านที่ใดมาบ้างและควรจะไปทางไหนต่อ

ความสําคัญของระบบเนวิเกชัน
   Navigation ที่ ดีจะต้องสามารถตอบคําถามหรือบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

1. ผู้ชมกําลังอยู่ในส่วนใดของเว็บ
2. สามารถเข้าถึงข้อมูลที ต้องการได้อย่างไร
3. สามารถกลับไปยังหน้าเว็บเดิมได้อย่างไร
4. หน้าเว็บเพจใดที่ได้เยี่ยมชมข้อมูลแล้ว

คุณสมบัติการนําทางของบราวเซอร์
   Open URL เป็นช่องว่างสําหรับกรอกที่อยู่เว็บที่ต้องการเพื่อเข้าไปเว็บนั้น
   History แสดงรายชื่อเว็บที่เคยเข้าไปย้อนหลังตามเวลาที่กําหนดไว้
   Bookmark ทําให้บราวเซอร์จําที่อยู่ของเว็บช่วยให้ผู้ใช้กลับมายังหน้าเดิมได้ง่าย
   Status Bar แสดงรายละเอียด
   URL สีมาตรฐานของลิงค์ นํ้าเงิน,ม่วง

รูปแบบของระบบเนวิเกชัน แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ 
1. ระบบเนวิเกชันแบบลําดับขั(น (Hierarchical)
2. ระบบเนวิเกชันแบบโกลบอล(Global)
3. ระบบเนวิเกชันแบบโลคอล (Local)

4. ระบบเนวิเกชันเฉพาะที (Ad Hoc)

การออกแบบหน้าเว็บ
Page Design

ความสำคัญ
-เป็นการสื่อสารเนื้อหาและองค์ประกอบของเว็บให้ดูน่าสนใจ บนพื้นฐานของความเรียบง่ายและสะดวกของผู้ใช้


แนวคิดในการออกแบบเว็บ
-เรียนรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ
-ประยุกต์จากสิ่งพิมพ์
-จำลองเปรียบเทียบ คือ การใช้สิ่งที่ผู้ใช้คุ้นเคย อธิบายสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
-ออกแบบอย่างสร้างสรรค์


ลักษณะต่างๆ ของแบบจำลอง
1.จำลองแบบการจัดระบบ  ใช้ความคุ้นเคยของผู้ใช้เพื่อสร้างระบบใหม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
2.จำลองการใช้งาน  จำลองการใช้งานในชีวิตลงสู่เว็บไซต์
3.จำลองลักษณะที่มองเห็น นำลักษณะที่ผู้ใช้คุ้นเคย มาใส่ในเว็บไซต์ เช่น ปุ่มบนเเครื่องเล่นเพลง

หลักการออกแบบหน้าเว็บ
1. สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ(Visual Hierarchy)
    -จัดตำแหน่งและลำดับขององค์ประกอบ ตัวอักษร ซ้าย-ขวา,ตัวใหญ่-ตัวเล็ก
    -สีและความแตกต่างของสี
    -ภาพเคลื่อนไหว
2. สร้างรูปแบบ บุคลิก และสไตล์
    ตามความเหมาะสมของเนื้อหาและความต้องการ
3. สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั้งทั่งไซต์
    ช่วยทำให้คุ้นเคยและสามารถคาดการณ์ลักษณะเว็บได้ล่วงหน้า
4. จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วงบนของหน้าเสมอ
    จัดในตำแหน่งที่จะปรากฎ โดยที่ผู้ใช้งานยังไม่ได้ทำการเเลื่อนหน้าจอใดๆ
    - ชื่อของเว็บ
    - ชื่อหัวเรื่อง
    - สิ่งสำคัญ
    - ระบบเนวิเกชั่น
5. สร้างจุดสนใจด้วยความแตกต่าง
    อย่าใช้กราฟฟิกมากเกินไป จะทำให้ยากต่อการมองหาข้อมูลที่มีความสำคัญจริงๆ
6. จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบและเรียบง่าย
    ดูง่าย แยกเป็นสัดส่วน ไม่เน้นจนเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดความน่าสนใจไปได้ และเรียบเรียงเนื้อหาที่มีความสำคัญจริงๆ เพื่อไม่สร้างความลำบากต่อการอ่าน
7. ใช้กราฟิกอย่างเหมาะสม
    เหมาะสมและไม่มากจนเกินไป จัดอย่างเป็นระเบียบ


เข้าใจลักษณะการใช้งานของเว็บ
   1. การออกแบบเว็บเพื่ออ่านบนหน้าจอ ควรกระทัดรัด ไม่มีกราฟฟิกมากเกินไป
   2. การใช้สื่อกลางในการพิมพ์ข้อมูลงกระดาษ ควรใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เปลืองกระดาษ และจัดเนื้อหาอย่างเหมาะสมโดยแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
      - เว็บขนาดสั้น สำหรับโฮมเพจหรือหน้าที่รวมลิ้งก์จำนวนมาก มีกราฟิกขนาดใหญ่
      - เว็บขนาดยาว สะดวกในการพิมพ์หรือดาวโหลด โครงสร้างไม่ถูกแบ่งจากกัน


การออกแบบหน้าเว็บสำหรับการพิมพ์
   1. แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ พร้อมสร้างลิงก์เชื่อมโยง เพื่อเหมาะแก่การอ่าน
   2. สร้างลิงก์จากหน้าเว็บที่ได้ในขั้นแรกไปยังอีกเว็บหนึ่งที่รวมเนื้้อหาทั้งหมดไว้ในไพล์เดียวกัน

รูปแบบโครงสร้างของหน้าเว็บ
   1. โครงสร้างหน้าเว็บในแนวตั้ง นิยมมากที่สุด รูปแบบง่ายในการพัฒนาและมีข้อจำกัดน้อยสุด
   2. โครงการหน้าเว็บในแนวนอน แสดงความคิดและความสร้างสรรค์ แต่มีข้อจำกัดด้านเนื้อหา
   3. โครงการหน้าเว็บที่พอดีกับหน้าจอ จะจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้าจอ โดยออกแบบมาพอดีกับหน้าจอและไม่ต้องใช้ Scroll Bar ปรากฎ
   4. โครงสร้างเว็บอย่างสร้างสรรค์ สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่่ ไม่มีจำกัดขอบเขตไว้แน่นอน


 เทคนิคการจัดโครงสร้างของหน้า จัดโดยการใช้ตาราง


ออกแบบหน้าโฮมเพจ 
เสมือนหน้าปกหนังสือ ที่ใช้สื่อถึงผู้ใช้เพื่อสร้างความประทับใจ และดูน่าสนใจด้วยการใช้กราฟิกหรือเทคนิคต่างๆ
ข้อแนะนำในการออกแบบหน้าโฮมเพจ
   1. ใช้กราฟิก
   2. กำหนดชื่อของเว็บให้สื่อความหมาย
   3. สร้างความแตกต่างอย่างชัดเจน
   4. ใช้พื้นหนังอย่างเหมาะสม
   5. เลี่ยงการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
   6. อย่าใช้ภาพเคลื่อนไหวมากจนเกินไป


เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์ (Designing Web Colors)

สิ่งสำคัญในการทำเว็บไซต์  นอกเหนือจากข้อมูลและรูปภาพที่ควรคำนึงถึงแล้ว  เฉดสีบนหน้าเว็บไซต์ ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นหน้าตาของเว็บไซต์โดยรวมเลยทีเดียว  เนื่องจากสีนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์  ถึงแม้ข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์จะดีเพียงใด  แต่ถ้าหากเลือกใช้สีไม่ดี ก็อาจส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ดูไม่น่าสนใจ  หรือทำให้อ่านยาก  ผู้ชมเว็บไซต์จะอยู่ในเว็บไซต์ไม่นานและอาจจะไม่กลับมาที่หน้าเว็บไซต์อีกเลยก็ได้  ดังนั้น  จึงควรเลือกสีให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ ว่าจะสื่อออกมาในอารมณ์และความรู้สึกแบบไหน  และมีการแสดงผลที่เอื้ออำนวยต่อการอ่านข้อมูลของผู้ชมเว็บไซต์ด้วย

- สีส้ม  เป็นสีแห่งความสร้างสรรค์ อบอุ่น สดใส มีสติปัญญา ความทะเยอทะยาน
-สีแดง  เป็นสีที่กระตุ้นระบบประสาทของเราได้รุนแรงที่สุด ให้ความรู้สึกเร้าใจ ตื่นเต้น ท้าทาย ตื่นตัว
-สีชมพู ให้ความรู้สึกอบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก
-สีเหลือง ให้ความรู้สึกแจ่มใส ความสดใส ความอบอุ่น ความร่าเริง  ความสุกสว่างใส
-สีเขียว  เป็นสีที่เด่นที่สุดบนโลก ให้ความรู้สึกร่มเย็น สบายตา ผ่อนคลาย ปลอดภัย ทำให้เกิดความหวังและความสมดุล
 -สีน้ำเงิน  เป็นสีที่สร้างความสุขุม เยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ  น่าเชื่อถือ
 -สีฟ้า  เป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบเยือกเย็น เป็นอิสระ ปลอดโปร่ง สบาย ปลอดภัย ใจเย็น สะอาด
 -สีม่วง  เป็นสีแห่งผู้รู้ ห้ความรู้สึกมีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ น่าค้นหา
-สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน
 -สีทอง ให้ความรู้สึกความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สง่างาม  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น